ส.คช. มุ่งพัฒนา วิจัย และบริการวิชาการ ‘ระบบสืบพันธุ์ช้าง’ เพื่อแก้ไขปัญหาการลดลงของ ‘ช้างไทย’ ...
หากพูดถึงประชากร ‘ช้างไทย’ ในปัจจุบันนับได้ว่ามีอัตราการเกิดของช้างที่ลดลง ซึ่งสวนทางกับอัตราการป่วยและตายของช้างที่มีเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับช้างเลี้ยงแต่ละเชือกมีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันออกไปจึงทำให้ไม่เอื้อต่อการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติทำให้เกิดโอกาสช้างตั้งท้องน้อยลง ส่งผลให้ประเทศไทยกำลังขาดแคลนช้างเพศผู้และเพศเมียในการเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ รวมถึงช้างที่มีสายเลือดชิดกันหากมีโอกาสตั้งท้องและเกิดลูกช้างที่ไม่แข็งแรง
ส.คช. จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาเทคนิคการเก็บน้ำเชื้อ
การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ การแช่เย็นและแช่แข็งน้ำเชื้อไว้เป็นธนาคารน้ำเชื้อช้าง
การพัฒนาเทคนิคการจับสัด โดยการตรวจวงจรรอบการเป็นสัดจากฮอร์โมนเพื่อหาวันที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์
ตลอดจนการผสมเทียมในกรณีที่ไม่สามารถผสมจริงได้
ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในระบบสืบพันธุ์ช้างเลี้ยงในประเทศไทยได้
ทั้งนี้ ส.คช. มุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคนิคในด้านต่างๆ
ทั้งเรื่องการเก็บน้ำเชื้อ การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อช้าง
รวมถึงการตรวจวงรอบการเป็นสัตว์ในช้างเพศเมีย และอื่นๆ เข้ามาปรับใช้ในกระบวนการวิจัยและบริการวิชาการระบบสืบพันธุ์ช้าง
เพื่อให้สามารถวางแผนการจัดการโครงสร้างประชากรช้างที่เหมาะสม
ตลอดจนอนุรักษ์สายพันธุ์ของช้างไทยให้คงอยู่สืบไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น